วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เอกสารที่ประกอบในการยื่นคำฟ้องแพ่งของทนายความ การเรียงลำดับ


                การยื่นคำฟ้องแพ่งหรือฟ้องอะไรนั้นต้องไปยื่นที่ศาล แต่ถ้าเมียหรือภรรยาอันเป็นที่รักของเรายื่นฟ้องเราข้อหานอกใจภรรยา สามารถยื่นฟ้องได้เลยไม่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีพยานหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ แค่พยานบอกเล่าก็ฟังลงโทษได้แล้ว เพราะเมียหรือภรรยาเป็นทั้งทนายความและผู้พิพากษาในเวลาเดียวกัน   
                เรามาเริ่มกันที่การยื่นคำฟ้องกันเลย เอกสารในการยื่นคำฟ้องประกอบด้วยเอกสารดังต่อไปนี้คือ
๑ คำฟ้อง + คำขอท้ายฟ้อง (ต้นฉบับ)
๒ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลขต่าง ๆ
๓ หมายเรียกคดีแพ่งสามัญ หรือ มโนสาเร่ หรือ ไม่มีข้อยุ่งยาก
๔ ใบแต่งทนายความ
๕ ใบมอบฉันทะ (ถ้ามี)
๖ บัญชีพยาน
๗ คำแถลง (ส่งทางไปรษณีย์ หรือ โดยเจ้าพนักงานของศาล)
๘ คำร้องขอให้ส่งหมายให้จำเลย และปิดหมาย การขอให้ศาลปิดหมายนี้โจทก์ต้องขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่คัดจากอำเภอ หรือเทศบาล หรือเขตไม่เกิน ๑ เดือน ก่อนที่โจทก์ยื่นฟ้อง เพื่อแสดงที่อยู่ของจำเลยที่แน่นอน ไม่เช่นนั้นแล้วศาลอาจไม่ปิดหมายให้ กรณีเป็นนิติบุคคลก็ขอคัดหนังสือรับรองที่พาณิชย์จังหวัด

๙ คำแถลงของดส่งสำเนาเอกสาร (ถ้ามี) กรณีมีเอกสารมากมายและโจทก์จำเลยรู้อยู่แล้ว
๑๐ สำเนาหมาย (คดีมโนสาเร่ , คดีไม่มีข้อยุ่งยาก , คดีแพ่งสามัญ) แล้วแต่กรณีของจำเลยแต่ละคน
๑๑ สำเนาที่จะเตรียมให้กับจำเลยและศาล จำเลยมีกี่คนก็ทำสำเนาเท่ากับจำนวนของจำเลย ส่วนของศาลให้คำฟ้องตัวจริง ส่วนเอกสารท้ายฟ้องต้องเป็นสำเนาทั้งหมด เพราะยื่นให้ศาลไปตอนนี้อาจหายได้ ส่วนตัวจริงนั้นก็จะยื่นส่งศาลในวันพิจารณานั้นเอง
หมายเหตุ  บางศาลได้อำนวยความสะดวกให้ทนายความไว้แล้วคำแถลงบางอย่างก็ได้มีบริการที่หน้าแผนกรับฟ้องอยู่แล้ว เช่น คำแถลงของส่งหมายทางไปรษณีย์ หรือ โดยเจ้าพนักงานศาล ถ้าศาลไหนไม่มีบริการเราก็เขียนเอง
                ที่กล่าวมาแล้วนี้อาจมองไม่เห็นภาพ ผมจะเขียนตัวอย่างว่าหน้าตามันเป็นอย่างไร ว่ากันแบบช๊อตต่อช๊อต หลุมต่อหลุม กันเลยดีกว่า แล้วเจอกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น