วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

แนวทางศึกษากฎหมายไทย

         จะกล่าวถึงกฎหมายของไทยแค่จำชื่อของกฎหมายแต่ละฉบับว่าชื่ออะไรบ้างยังไม่ต้องจำรายละเอียดข้างในก็จำไม่ไหวแล้ว มีมากเหลือเกินเท่าที่เขารวบรวมไว้มี รัฐธรรมนูญ ,ประมวลกฎหมาย ,พระราชบัญญัติ ,พระราชกำหนด ,พระราชกฤษฎีกา ก็มีประมาณ ๗๐๐ ร้อยกว่าฉบับแล้ว แต่นี้ยังไม่รวมถึง กฎกระทรวง และระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ อีกมากมาย โอ้โหพระเจ้าช่วย ถ้าให้เรียนกันทุกฉบับแล้วไม่รู้ใช้เวลากี่ปีถึงจะเรียนครบทุกฉบับ เพราะฉนั้นแล้วการศึกษากฎหมายของไทยต้องมีแนวทางในการศึกษาจะได้ไม่หลงทางเสียเวลาเปล่า ๆ เอาละมาเริ่มกันเลย
           กฎหมายที่สำคัญฉบับแรกคงหนี้ไม่พ้นกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นเองซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของกฎหมายต่าง ๆ นั้นเอง ซึ่งก็มีคนหลายคนอยากจะแก้อยู่เหมือนกัน รองลงมาก็คงหนี้ไม่พ้นประมวลกฎหมายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายอาญา ,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ,ประมวลกฎหมายที่ดิน ,ประมวลรัษฎากร ก็ที่เขียนนำหน้าว่าประมวลกฎหมายอะไรก็แล้วแต่สำคัญทั้งนั้น ต่อมาก็พระราชบัญญัติ ,พระราชกำหนด ,พระราชกฤษฎีกา ตามลำดับนั้นเอง เพราะกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหัวใจของกฎหมายที่สามารถนำไปบังคับใช้กับกฎหมายอื่น ๆ ที่เขียนให้นำกฎหมายข้างต้นนี้ไปบังคับได้
         เมื่อเรารู้แล้วว่าแนวทางการศึกษากฎหมายไทยนั้นเป็นอย่างไร เราก็มาเริ่มศึกษากันเลยดีกว่าแต่ต้องเป็นช่วงต่อไป แล้วเจอกัน