วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การทำปกสำนวนและขั้นตอนการดำเนินคดีของทนายความที่ติดในปกสำนวน


                     ปกสำนวนคือสิ่งที่อยู่ข้างหน้าของของเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำเนินคดีของทนายความ หรือตำรวจ อัยการ แม้กระทั้งศาลเอง ปกสำนวนนี้จะใช้กระดาษที่แข็งกว่าเอกสารธรรมดา และแยกตามสีที่ต้องการเพื่อให้รู้ว่าสำนวนสีนี้เป็นคดีประเภทใด คดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่น ๆ ตามที่เรากำหนดทำให้เราจำได้ และง่านต่อการค้นหานั้นเอง อธิบายมาแล้วอาจมองไม่เห็นภาพว่าเป็นอย่างไรมาดูตัวอย่างกันดีกว่ารวมทั้งขั้นตอนการดำเนินคดีของทนายความที่ติดในปกสำนวนด้วยเพื่อที่จะเข้าใจในกระบวนการดำเนินคดีของทนายความให้มากยิ่งขึ้น


ตัวอย่างปกสำนวน

                                        โลโก้สำนักงาน (ถ้ามี)

                                                                             หมายเลขคดีดำที่............/๒๕...............
โทร. คู่ความ.......................                                หมายเลขคดีแดงที่............./๒๕...............
โทร. ศาล............................          ศาล................................................บัลลังก์...................
เป็นทนายฝ่าย..................                         ความ............................................

                        ......................................................................................................โจทก์
ระหว่าง
                        .....................................................................................................จำเลย

เรื่อง.............................................................................................................................
ทุนทรัพย์..............................................................................บาท .....................สตางค์

                                                            กำหนดนัด
๑................................................................................หมายเหตุ..................................
๒.................................................................................หมายเหตุ.................................
๓.................................................................................หมายเหตุ.................................
๔.................................................................................หมายเหตุ.................................
๕.................................................................................หมายเหตุ.................................
๖.................................................................................หมายเหตุ..................................
๗.................................................................................หมายเหตุ..................................
๘.................................................................................หมายเหตุ..................................
๙..................................................................................หมายเหตุ..................................




ขั้นตอนการดำเนินคดีของทนายความที่ติดในปกสำนวน (ด้านใน)


                              บันทึกรายการเกี่ยวกับดำเนินคดี

๑.     สอบถามข้อเท็จจริง วันที่………………………
๒.     เซ็นใบแต่งทนายความ วันที่…………………..จำนวน………………..ใบ
๓.     รวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เอกสารท้ายฟ้องหรือคำให้การ วันที่……………………
·        สัญญา+เอกสารต่าง ๆ วันที่………………………
·        ปิดอากรแสตมป์ วันที่………………………..
๔.     คำแถลงขอปิดหมาย + คัดสำเนาทะเบียนบ้านจำเลยภายใน ๑ เดือน วันที่……………………..
๕.     แบบฟอร์มประเภทหมายเรียกคดี มโนสาเร่ , ไม่มีข้อยุ่งยาก , แพ่งสามัญ วันที่…………………….
๖.     เขียนใบแต่งทนายความ วันที่……………………….
๗.     บัญชีระบุพยาน ครั้งที่ ๑ วันที่………………………ครั้งที่ ๒ วันที่……………………
๘.     ถ่ายสำเนาพยานเอกสารและคำคู่ความ วันที่………………………. จำนวน……………ชุด
๙.     ยื่นคำฟ้อง วันที่………………………….
๑๐. ยื่นคำให้การ วันที่…………………………
๑๑. งานคุ้มครองก่อนคำพิพากษา
·        ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายขออย่างธรรมดา วันที่……………………..
·        การขออย่างฉุกเฉิน วันที่………………………
·        จำเลยขอรับความคุ้มครอง วันที่………………………..
·        การขอคุ้มครองอย่างอื่นนอกประเด็นที่ฟ้อง……………………
๑๒. ประเภทคดี………………………….
๑๓. ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา วันที่………………………………
๑๔. ชำระค่าธรรมเนียมศาล วันที่………………………….
๑๕. นำหมาย วันที่……………………….
๑๖. รับหมาย วันที่……………ด้วยวิธี……………….จำเลยต้องยื่นคำให้การภายในวันที่……………
๑๗. ยื่นคำร้องขอให้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ วันที่………………………….
๑๘. ประนีประนอมยอมความ วันที่…………………………
๑๙. หมายเรียกพยานบุคคล วันที่……………………..
๒๐. หมายเรียกพยานเอกสาร วันที่…………………………
๒๑. ยื่นคำร้องขอให้จำเลยขาดนัดพิจารณา วันที่……………………
๒๒. ชำระค่าอ้างพยานเอกสาร วันที่……………………….
๒๒. คำพิพากษาศาลชั้นต้น วันที่…………………..รายละเอียด………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
      ๒๓. การขอทุเลาการบังคับคดีของศาลชั้นต้น วันที่………………………………
      ๒๔. ยื่นอุทธรณ์ วันที่………………………
      ๒๕. แก้อุทธรณ์ วันที่………………………
      ๒๖. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ วันที่…………………..รายละเอียด………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
      ๒๗. การขอทะเลาการบังคับคดีของศาลอุทธรณ์ วันที่……………………..
      ๒๘. ยื่นฏีกา วันที่…………………
      ๒๙. แก้ฎีกา วันที่………………….
      ๓๐. คำพิพากษาศาลฎีกา วันที่………………..รายละเอียด…………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
      ๓๑. กรณีคู่กรณีไม่ทราบคำพิพากษา ขอศาลออกคำบังคับ วันที่……………นำหมายส่งคำบังคับ วันที่………..
รับหมาย วันที่…………………..ด้วยวิธี…………………….
        ๓๒. ขอศาลออกหมายบังคับคดี วันที่………………………..
ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี วันที่………………..ยึดทรัพย์ วันที่……………………
      ๓๓. ขายทอดตลาด วันที่………………………
      ๓๔. ร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ วันที่……………………
      ๓๕. ร้องขัดทรัพย์ วันที่………………………..
      ๓๖. ร้องขอให้ได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ วันที่……………………….
      ๓๗. คำร้องเพื่อให้ศาลสั่งให้เข้าเฉลี่ยทรัพย์ วันที่………………………

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น